ไมโครพลาสติก (MPs) ที่พบในหัวใจดังกล่าวเป็นไมโครพลาสติกประเภทที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารซึ่งมีอนุภาคความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งถูกขับออกจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ขวดและบรรจุภัณฑ์อาหาร จากนั้นจึงปล่อยออกสู่อากาศ น้ำ และอาหารรอบตัวเรา
ทีมงานจากโรงพยาบาลเป่ยจิงอันเจิน (Beijing Anzhen) ในประเทศจีนได้เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหัวใจจากผู้ป่วย 15 รายที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจ รวมถึงตัวอย่างเลือดที่ถ่ายก่อนและหลังการผ่าตัด
นอกจากนี้ ยังพบไมโครพลาสติกในตัวอย่างเลือดและเนื้อเยื่อหัวใจทั้งหมด ซึ่งเชื่อกันว่าอาจถูกสูดดมหรือกินเข้าไป จนทำให้พลาสติกไปยึดเกาะกับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงด้านนอก และอาจส่งผลต่อความสามารถในการขนส่งก๊าซออกซิเจน
ทั้งนี้ การมีไมโครพลาสติกในร่างกายอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคสมองเสื่อม ตลอดจนปัญหาภาวะเจริญพันธุ์ เนื่องจากเซลล์ไม่สามารถทำลายอนุภาคพลาสติกในร่างกายได้ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบอย่างมาก
หลังการผ่าตัดก็พบว่าตัวอย่างเลือดของผู้เข้าร่วมการศึกษามีพลาสติกจำนวนน้อยแต่มีความหลากหลายมากกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการนำไมโครพลาสติกบางส่วนเข้าสู่ร่างกายระหว่างการผ่าตัด โดยพบพลาสติก 9 ชนิดในเนื้อเยื่อหัวใจ 5 ชนิด
อย่างไรก็ดี ไมโครพลาสติกแต่ละชิ้นนับหมื่นถึงพันชิ้นจะถูกค้นพบโดยใช้เลเซอร์และการถ่ายภาพด้วยแสงอินฟราเรด แต่จะมีจำนวนแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยแต่ละราย
อนุภาคขนาดจิ๋วของโพลี (เมทิลเมทาคริเลต) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปเป็นทางเลือกที่ทนต่อการแตกหักของแก้วพบได้ใน 3 ส่วนที่แตกต่างกันของหัวใจ ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า “ไม่สามารถระบุได้จากการสัมผัสโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการผ่าตัด”
พลาสติกอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตที่ใช้ในเสื้อผ้าและภาชนะบรรจุอาหาร และโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่มักจะใช้ในท่อระบายน้ำ สี และอื่นๆ
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า “การตรวจพบ MPs ในร่างกายเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่า MPs เข้าสู่เนื้อเยื่อหัวใจได้อย่างไร และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก MPs ต่อการพยากรณ์โรคระยะยาวหลังการผ่าตัดหัวใจ”
พวกเขาเสริมอีกว่า งานวิจัยของพวกเขาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ‘Environmental Science & Technology’ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการทางการแพทย์ที่รุกล้ำ เช่น การผ่าตัดหัวใจอาจเป็นเส้นทางที่พลาสติกเข้าสู่ร่างกายซึ่งประเด็นนี้ถูกมองข้ามไป
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบไมโครพลาสติกในปอด สมอง และเลือดของมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและเสียชีวิตแล้ว แต่ปริมาณพลาสติกที่เข้าสู่ร่างกายยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ทั้งนี้ อนุภาคของมันสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ทางปาก จมูก และทางเข้าอื่นๆ จึงมีความกลัวที่ว่าอาจทำให้ทารกเกิดมาน้ำหนักน้อยจนเป็นอันตรายได้
ที่มา spacebar.th